![]() |
ที่มา:http://www.virtualmuseum.finearts.go.th |
ประวัติหม้อสามขา
เป็นภาชนะดินเผาสมัยก่อนประวัติศาสตร์ มีอายุประมาณ 3,500 - 4,000 ปี ซึ่งขุดค้นพบหลายจังหวัดด้วยกัน พบมากที่แหล่งโบราณคดีในเขตที่ราบ และเทือกเขาทางภูมิภาคตะวันตก ต่อเนื่องลงไปทางภาคใต้จนถึงคาบสมุทรมาเลย์แหล่งโบราณคดีสำคัญที่รู้จักกันแพร่หลายที่พบภาชนะดินเผาสามขา“หม้อสามขา” คือแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จังหวัดกาญจนบุรี นับเป็นโบราณวัตถุชิ้นเด่นของแหล่งโบราณคดีบ้านเก่า ตำบลบ้านเก่า อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี ที่ตั้งอยู่บริเวณริมห้วยสาขาของแม่น้ำแควน้อย โดยมีทีมขุดค้นที่แหล่งโบราณคดีบ้านเก่าระหว่าง พ.ศ.2503-2505 ของคณะสำรวจก่อนประวัติศาสตร์ไทย- เดนมาร์ก
นอกจากนี้ยังพบที่แหล่งโบราณคดีหนองราชวัตร และแหล่งโบราณคดีบ้านแจงงาม จังหวัดสุพรรณบุรี และยังได้พบแพร่กระจายลงไปทางจังหวัดราชบุรี ส่วนทางภาคใต้พบหนาแน่นในจังหวัดชุมพร ที่แหล่งโบราณคดีเขาทะลุ และแหล่งอื่นๆในอำเภอสวี ส่วนที่จังหวัดสุราษฏร์ธานี พบที่แหล่งโบราณคดีนาเชียง แหล่งโบราณคดีถ้ำเบื้องแบบ เป็นต้น
ลักษณะของหม้อสามขา
ลักษณะคล้ายหม้อมีขา 3 ขา ติดอยู่ที่สันภาชนะ ขามีลักษณะกลมเรียวและกรวง บริเวณส่วนบนหรือส่วนล่างของขาเจาะรู 1 - 2 รู ถ้าเป็นขาขนาดเล็กอาจมีเพียงรูเดียว ตัวหม้อและขาทำคนละครั้ง เมื่อเสร็จแล้วจึงนำมาต่อกันจึงเห็นรอยต่อบนผิวหม้อเป็นสันนูน หม้อสามขามีขนาดต่างๆ กัน ตั้งแต่ขนาดใหญ่มากจนถึงขนาดเล็ก
![]() |
ที่มา: https://writer.dek-d.com/ |
ลักษณะการใช้งาน
สันนิษฐานว่าเป็นภาชนะที่นำมาใช้สอยในชีวิตประจำวัน โดยขาที่ต่อออกมาจากตัวหม้อคงใช้วางคร่อมไฟแทนการตั้งบนเสา และรูที่ขาคงช่วยเรื่องการระบายความร้อน มักเชื่อกันว่าใช้สำหรับในชีวิตประจำวันเพื่อความสะดวกในการตั้งบนกองไฟ แต่หากเปรียบเทียบกับภาชนะสามขาที่พบในจีน ที่เรียกว่าติ่ง (Ting)
![]() |
ภาชนะสามขาที่พบในประเทศจีน ที่มา:http://bclc-tu.com/politics7.7_page3.html |
หลักฐานความเป็นมา
หลักฐานการค้นพบนั้นมีทั้งแบบเป็นลายลักษณ์และไม่เป็นลายลักษณ์โดยหม้อสามขานั้น เป็นโบราณวัตถุที่ขุดพบในไทย แสดงให้เห็นว่าคนไทยในสมัยก่อนนั้นก็มีความสามารถที่สร้างสรรค์สิ่งของได้และน่าจะมีการทำการเกษตรแล้ว ถึงแม้จะเชื่อว่าได้รับอิทธิพลมาจากประเทศจีนคือวัฒนธรรมหลงซาน (Lung Shan) และวัฒนธรรมหยางเส้า (Yangshao) ซึ่งมีอายุประมาณ 5,000 - 4,000 ปีที่ผ่านมา จัดเป็นวัฒนธรรมสมัยหินใหม่ ที่ผู้คนรู้จักทำการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้ว การแพร่กระจายของหม้อสามขา เข้ามาในดินแดนประเทศไทยนั้น นักวิชาการเชื่อกันว่าเกี่ยวพันกับการเปลี่ยนแปลงทางสังคมและวัฒนธรรมในสมัยหินใหม่ในบ้านเราอย่างมาก เพราะสอดคล้องกับการที่ผู้คนในประเทศไทยเริ่มรู้จักทำเกษตรกรรม
![]() |
ที่มา: https://www.slideshare.net/ |
👍👍👍 คราวนี้ก็คงได้ทำความรู้จักกับหม้อสามขากันแล้วใช่ไหมคะ นี่ถือเป็นโบราณวัตถุชิ้นสำคัญที่ทำให้เห็นถึงความสามารถ ภูมิปัญญา และการสร้างสรรค์ ที่สำคัญคือการติดต่อสื่อสาร กับคนต่างแดน หรืออาจเป็นการเดินทางเข้ามาที่ประเทศไทย เพราะมีการไหลบ่าทางวัฒนธรรม ได้เห็นว่าในอดีตเมื่อยุคก่อนประวัติศาสตร์มีการประดิษฐ์สิ่งของเพื่ออำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิต นั่นคือสิ่งที่น่าภูมิใจของเหล่ามนุษย์ ต่อไป "ใครไม่ดีแต่โบราณคดี" จะพาไปรู้จักกับเรื่องโบราณๆคดีอะไรนั้นคอยติดตามค่ะ 🙏🙏
ขอขอบคุณข้อมูลจาก ; พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร,ณัฐกานต์ พิภูษณกาญจน์,จากhttps://www.gotoknow.org/posts/4954,ค้นเมื่อ 21/02/61.
JANTHIMABLOG,จากhttps://janthimablog.wordpress.com/,ค้นเมื่อ 21/02/61.
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ บ้านเก่า,จากhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th,ค้นเมื่อ 21/02/61.