วันจันทร์ที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2561

โบราณสถาน"วัดพระแก้ว จ.กำแพงเพชร"

ที่มา : https://www.thetrippacker.com/th/


                           วัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นเป็นมรดกโลกเป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย วันนี้ "ใครไม่ดีแต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" จะพาทุกคนไปท่องเที่ยว ทำความรู้จักกับโบราณสถานที่มีคุณค่าแห่งนี้

                 ประวัติของวัดพระแก้ว   
                     
                          วัดพระแก้ว ตั้งอยู่กลางเมืองกำแพงเพชร ภายในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร
เป็นวัดที่สำคัญอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดพระศรีสรรเพชญ์ ที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
หรือวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย วัดนี้มีขนาดกว้างประมาณ 150 เมตร และยาวประมาณ 400 เมตร
               วัดนี้ตั้งอยู่กึ่งกลางเมืองอยู่ติดกับบริเวณวังเช่นเดียวกับวัดมหาธาตุกรุงสุโขทัย และวัดพระศรีสรรเพชญ กรุงศรีอยุธยาแต่ใกล้ไปข้างทิศตะวันตกของกำแพงเมือง เป็นวัดที่มีเฉพาะเขตพุทธาวาสไม่มีพระภิกษุจำพรรษา วัดพระแก้ว สร้างหันหน้าไปทางทิศตะวันออก และอยู่ห่างจากวัดพระธาตุประมาณ 100 เมตร กำแพงวัดเป็นศิลาแลงกลมทั้งท่อนสูงประมาณเมตรเศษแผนผังของวัดเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนานไปกับกำแพงเพชร กำแพงวัดขาดเป็นตอนๆ สิ่งก่อสร้างภายในใช้ศิลาแลงเป็นส่วนใหญ่ ตรงกลางของวัดมีพระเจดีย์กลมแบบลังกาองค์ใหญ่เป็นประธาน ฐานสี่เหลี่ยม ที่ฐานทำเป็นซุ้มคูหาโดยรอบมีสิงห์ยืนอยู่ในคูหาแต่ชำรุดหมด วัดพระแก้วนี้หลังจากขุดแต่งแล้ว ปรากฏว่า พบฐานเจดีย์แบบต่างๆ กัน รวม ๓๕ ฐาน วิหารใหญ่และเล็ก ๘ วิหาร ฐานโบสถ์ ๓ แห่ง ซึ่งแสดงว่าเป็นวัดใหญ่และสำคัญมากมาก่อน ปัจจุบันงานนบพระเล่นเพลง และงานวันสารทไทยกล้วยไข่ เมืองกำแพงเพชร ก็จัดให้มีขึ้นในบริเวณวัดพระแก้วแห่งนี้
                   
                           ที่ตั้ง    

                           วัดพระแก้ว ตั้งอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ถนนราชดำเนิน 2 ตำบลในเมือง อำเภอกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ด้านหลัง วัดพระธาตุ

                     สถานที่สำคัญภายในวัด   
                   
                     ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย เจดีย์ประธานที่ฐานมีสิงห์ล้อม เจดีย์ทรงกลมที่ฐานมีช้างรอบ วิหาร มณฑป อุโบสถ และเจดีย์ราย ทั้งหมดล้อมรอบด้วย กำแพงศิลาแลงเป็นแท่งๆ โดยรอบ

ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/


(1)   เจดีย์ประธาน  เจดีย์ประธานในวัดพระแก้วสร้างจากหินศิลาแลง และเป็นรูปทรงระฆังคว่ำตั้งอยู่บนฐานทรงกลม โดยเจาะเป็นซุ้มด้านละ 16 ซุ้ม ซึ่งเดิมที่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป บริเวณรอบฐานเจดีย์ มีรูปปั้นสัตว์อยู่ 32 ตัว (โดยเป็นปูนปั้นบนหินศิลาแลง) นอกจากนั้นยังมีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ 3 องค์ และมีพระพุทธรูปขนาดเล็กอีกจำนวนมากประดิษฐานอยู่ในซุ้มด้านบนด้วย

ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/1232
ที่มา : https://www.thai-tour.com/place/1232


(2)   วิหาร  ซึ่งมีพระพุทธรูปที่สำคัญๆ ประดิษฐานอยู่ภายใน โดยมีอยู่ 3 องค์ที่มีศิลปะแบบกำแพงเพชรที่เห็นได้อย่างเด่นชัด โดยมีพระเศียรเป็นรูปสี่เหลี่ยม พระเนตรเรียวแหลม คางเล็ก และพระโขนงเชื่อมติดกัน
ที่มา : http://www.thailandsworld.com

                   วัดพระแก้วได้ขึ้นเป็นมรดกโลก  
                         
                          อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร ตั้งอยู่ในเขตอำเภอเมืองกำแพงเพชร จังหวัดกำแพงเพชร ห่างจากจังหวัดสุโขทัยไม่มากเท่าไรนัก มีศิลปะและสถาปัตยกรรมลักษณะเดียวกับที่ปรากฏอยู่ในอุทยานประวัติศาสตร์สุโขทัย มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น ทั้งในด้านการใช้วัสดุศิลาแลงเป็นวัสดุก่อสร้าง รูปแบบทางศิลปกรรมเป็นของแท้แต่ดั้งเดิมที่แสดงถึงฝีมือและความเชื่อของบรรพชนในอดีต ตลอดจนโบราณสถานรวมกลุ่มหนาแน่นในบริเวณป่าธรรมชาติ ซึ่งยังคงบรรยากาศพุทธสถานเขตอรัญวาสีดังเช่นในอดีตได้อย่างงดงาม
                         โดยสถานที่ที่น่าสนใจในเขตอุทยานฯ ก็มีให้เที่ยวชมมากมาย เช่น “วัดพระแก้ว” เป็นวัดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดของกลุ่มโบราณสถานในอุทยานและสำคัญมากในอดีต วัดพระธาตุ เป็นวัดหลวงโบราณประจำเมืองกำแพงเพชร วังโบราณหรือสระมน ศาลพระอิศวร วัดพระนอน วัดพระสี่อิริยาบถ ตลอดจนวัดช้างรอบ ฯลฯ และอีกมากมายให้เลือกเที่ยวชม


                     ข้อมูลการท่องเที่ยว   
                   
                         เข้าชมได้ทุกวัน เวลา 08.00 - 17.00 น. ค่าเข้าชม ชาวไทย 10 บาท ชาวต่างชาติ 40 บาท สำหรับผู้ที่จะนำรถเข้าชมบริเวณอุทยานฯ จะต้องเสียค่าผ่านประตูคันละ 50 บาท การใช้บริการรถไฟฟ้านำชมสามารถติดต่อโดยตรงที่โทรศัพท์ 0 5571 1044 ไม่เว้นวันหยุด

                   ไม่ว่านักท่องเที่ยวจะมาเป็นหมู่คณะ หรือมาส่วนตัว ค่าบริการถ้ามาเที่ยวเหมาคัน คันละ 200 บาท ถ้าเป็นรายบุคคล ผู้ใหญ่ 20 บาท เด็ก 10 บาท ตลอดเส้นทาง สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์ 0 5571 1921, 0 5571 2528

     ที่แห่งนี้เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งของจังหวัดกำแพงเพชร  โบราณสถานวัดพระแก้ว เกิดจากความศรัทธาเลื่อมใสอย่างแรงกล้าต่อพระพุทธศาสนาของบรรพบุรุษชาวกำแพงเพชร จนสามารถโน้มน้าวให้เกิดแรงสามัคคี สร้างโบราณสถานจากวัสดุศิลาแลงเพียงชนิดเดียวได้อย่างยิ่งใหญ่สวยงาม
ในวันนี้ชาวกำแพงเพชรจึงมีโบราณสถานที่เป็นมรดกโลกที่สำคัญ อันสร้างความภาคภูมิใจให้กับชาวกำแพงเพชร.



อ้างอิง
วัดพระแก้ว อุทยานประวัติศาสตร์กำแพงเพชร,จาก http://www.siamfreestyle.com.ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2560
วัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร,จากhttp://www.thailandsworld.com/.ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2560
โบราณสถาน "วัดพระแก้ว" กำแพงเพชร สถานที่ประดิษฐานองค์พระแก้วมรกตในอดีตกาล,จาก http://www.sookjai.com/.ค้นเมื่อ 5 มีนาคม 2560

วันอาทิตย์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 2561

ไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย

ที่มา : https://sites.google.com/

                  สวัสดีทุกคนนะคะ วันนี้ "ใครไม่ดีแต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" จะพาทุกคนไปรู้จักกับสัตว์โลกล้านปี หรือ ไดโนเสาร์นั่นเองซึ่งในประเทศไทยเองก็มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์มากมายเลยทีเดียว ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีไดโนเสาร์พันธุ์อะไรบ้าง ไปกันเลยค่า

                          ไดโนเสาร์ในประเทศไทย    
                       จากการสำรวจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบไดโนเสาร์ในประเทศไทยมากกว่า 16 ชนิด ซึ่งในทั้งหมดนี้มี 9 ชนิดใหม่ของโลก โดยแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น  จังหวัดขอนแก่น  กาฬสินธุ์  ชัยภูมิ  เป็นต้น  จึงมีการนำคำว่า  “อีสาน”  มาตั้งเป็นชื่อไดโนเสาร์และตั้งชื่อตามชื่อของบุคคลหรือสถานที่ที่ขุดค้นพบด้วย ได้แก่
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/
   
1. สยามโมไทรันนัส  อิสานเอนซิส  (Siamotyrannus  isanensis)
ที่มา : https://sites.google.com/
          ไดโนเสาร์ตระกูลใหม่ของไทยถูกค้นพบที่บริเวณหินลาดยาว  อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น  เมื่อเดือนสิงหาคม  พ.ศ. 2536  ไดโนเสาร์เทอโรพอด  (ไดโนเสาร์ที่เดิน  2  เท้า)  ขนาด
ใหญ่  ยาวประมาณ 6.5  เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ  130  ล้านปีก่อน  มีขาหลังที่ใหญ่และแข็งแรงมาก  พบกระดูกสันหลัง  สะโพกและหางที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ฝังในชั้นหินทราย  จากการศึกษาพบว่าอยู่ในวงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มของ ไทรันโนซอร์เริ่มวิวัฒนาการครั้งแรกในเอเชียแล้วค่อยแพร่กระจาย ไปทางเอเชียเหนือ และสิ้นสุดที่อเมริกาเหนือก่อนที่สูญพันธุ์ไป

2. ภูเวียงโกซอรัส  สิรินธรเน่ (Phuwiangosaurus sirindhornae)
         ไดโนเสาร์ซอโรพอด  (ไดโนเสาร์ที่เดิน  4  เท้า  คอและหางยาว  กินพืชเป็นอาหาร)  ชนิดแรกของไทย  ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา  อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น   มักอยู่รวมกันเป็นฝูง  พบกระดูกของพวกวัยเยาว์รวมอยู่ด้วย  ซึ่งมีขนาดยาว  2  เมตร  และสูงเพียงครึ่งเมตรเท่านั้น  ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ  130  ล้านปีก่อน  ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
ที่มา : http://www.lib.ru.ac.th

3. สยามโมซอรัส สุธีธรนี  (Siamosaurus  suteethorni)
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/
         ไดโนเสาร์ชนิดแรกของไทย  ตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่  นายวราวุธ  สุธีธร  ผู้มีส่วนร่วมในการสำรวจ พบที่บริเวณประตูตีหมา  อำเภอภูเวียง  จังหวัดขอนแก่น   ไดโนเสาร์เทอโรพอด  (ไดโนเสาร์ที่เดิน  2  เท้า)  ขนาดใหญ่  ความยาวประมาณ  7  เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นประมาณ  130  ล้านปีก่อน  สันนิษฐานว่าไดโนเสาร์เทอโรพอดทีทมีฟันรูปทรงกรวยมีแนวร่องและสันเรียงสลับ ตลอด  ฟันคล้ายจระเข้  และมีลักษณะปากคล้ายสัตว์เลื้อยคลานพวกกินปลา  มีแหล่งหากินอยู่ริมน้ำและกินปลาเป็นอาหาร

4. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ (Isanosaurus attavipachi)
ที่มา : https://paleoboyblog.wordpress.com
       ไดโนเสาร์กินพืชที่มีลักษณะเก่าแก่ที่สุดเท่าที่เคยพบมา  เป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด  (ไดโนเสาร์กินพืชขนาดใหญ่  เดิน  4  ขา  คอยาว  หางยาว)  ค้นพบฟอสซิลครั้งแรกที่จ.ชัยภูมิ โดยชื่อชนิด อรรถวิภัชน์ชิ  ตั้งขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแก่  นายปรีชา  อรรถวิภัชน์  อดีตอธิบดีกรมทรัพยากรธรณี ซึ่งฟอสซิลฝังตัวอยู่ในหมวดหินน้ำพอง อายุประมาณ 210 ล้านปี ฟอสซิลชุดแรกที่พบนั้นคาดว่าอีสานโนซอรัสมีความยาวประมาณ 6 เมตร แต่จากการศึกษาพบว่ากระดูกสันหลังยังไม่พัฒนาอย่างสมบูรณ์ แสดงว่าอีสานโนซอรัสตัวนี้สามารถโตได้มากกว่านี้

ที่มา : http://www.geothai.net/
5.กินรีมิมัส ขอนแก่นเอนซิส (Kinnareemimus khonkaenensis)
               ไดโนเสาร์เทอโรพอดกลุ่มออร์นิโธมิโมซอร์ มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร  ค้นพบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ฟอสซิลฝั่งอยู่ในหมวดหินเสาขัว อายุประมาณ 130 ล้านปี ไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโธมิโมซอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายนกกระจอกเทศ เจะงอยปากของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ไม่มีฟัน สันนิษฐานว่ากลุ่มนี้กินทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก


6. ซิททาโกซอรัส สัตยารักษ์คิ (Psittacosaurus sattayaraki)     
ที่มา : https://www.bloggang.com
            ไดโนเสาร์ยุคครีเตเซียสตอนต้น ประมาณ 100 ล้านปีมาแล้ว ในส่วนของชื่อก็คือการตั้งชื่อให้เป็นเกียรติแก่นายนเรศ สัตยารักษ์ ผู้ค้นพบ ไดโนเสาร์ชนิดนี้เป็นไดโนเสาร์พวกเซอราทอปเซียน กินพืชขนาดเล็กมีความยาวเพียง 1 เมตร ไดโนเสาร์ปากนกแก้วนี้ในอดีตเราพบว่ามีแพร่หลายอยู่เฉพาะในแถบเอเชียกลาง บริเวณซานตุง มองโกเลีย และไซบีเรียเท่านั้น ซึ่งการพบฟอสซิสครั้งนี้เป็นการยืนยันว่า เมื่อต้นยุคครีเตเซียส แผ่นดินอินโดจีน เป็นส่วนหนึ่งของเอเชียแผ่นดินใหญ่แล้ว
สถานที่พบ : ทวีปเอเชีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดชัยภูมิ

7. สยามโมดอน นิ่มงามมิ (Siamodon nimngami )
                ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลกรามบนพร้อมฟันฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี
ที่มา : http://siamensis.org/node/10164
8. 8. ราชสีมาซอรัส สุรนารีเอ (Ratchasimasaurus suranareae )
             ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านโปร่งแมลงวัน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลกรามล่างฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี 
ที่มา : https://oer.learn.in.th/

9. สิรินธรนา โคราชเอนซิส (Sirindhorna khoratensis)
             ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลหลายชิ้นฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี 
ที่มา : http://www.khoratfossil.org
               
                      แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์     

ที่มา : http://thaipaleosara.wixsite.com

                ทำไม? ไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์    

                             ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งมีหลากหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์มากมายหลายทฤษฎี แต่ส่วนมากทฤษฎีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ หรือ โดนดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก
ที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/
                              เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก



                 ประวัติการค้นพบไดโนเสาร์    
                      การค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆอีกมากมายหลายชนิดเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึงนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อย่างจริงจัง



                             สุดท้ายนี้ทุกคนคงได้รู้จักกับเจ้าไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย ซึ่งเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือไว้เพียงแค่ซากฟอสซิลให้เราคนรุ่นหลังได้ศึกษษเรียนรู้ และรู้จักแต่ในปัจจุบันก็มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน ดังนั้น เราทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ผืนป่า และสัตว์ป่า ไม่ไปทำลายเพื่อความยั่งยืนของสัตว์ให้คนรุ่นหลังได้ดูและรู้จัก ถึงแม้ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปด้วยสาเหตุของปรากฎการฏณ์ทางธรรมชาติ แต่สัตว์โลกในปัจจุบันก็ต้องไม่สูญพันธุ์ด้วยน้ำมือของมนุย์ "ใครไม่ดีแต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" ขอให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์นะคะ 



อ้างอิง
การค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย,หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติร์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม,จากhttp://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
ไดโนเสาร์แห่งสยาม,จากhttp://thaipaleosara.wixsite.com/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
ไดโนเสาร์ในประเทศไทย,จาก https://th.wikipedia.org/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่,จาก https://th.wikipedia.org/wiki/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560

วันพฤหัสบดีที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2561

กลองมโหระทึก ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ จ.ชุมพร

ที่มา: https://www.thairath.co.th/content/194850
                 วันนี้ "ใครไม่ดี แต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" จะพาทุกคนไปรู้จักกับโบราณวัตถุชนิดหนึ่งซึ่งเป็นเครื่องดนตรีแต่มิได้มีไว้เพื่อประกอบจังหวะเพื่อความบันเทิง แต่กลับมีความเป็นมา และวิธีใช้ต่างจากเครื่องดนตรีอย่างอื่นเพราะมีวัตถุประสงค์ในการใช้ที่เฉพาะ ถ้าอยากรู้แล้ว.........ไปกันเลยค่ะ
              ประวัติของกลองมโหระทึก    
                  "กลองมโหระทึก" มโหระทึกเป็นประเภทกลอง เพราะมีรูปร่างคล้ายกลอง จึงเรียกกันติดปากว่า "กลองมโหระทึก" แต่มโหระทึกทำด้วยโลหะผสมที่เรียกว่าสำริด (Bronze) ในตระกูลฆ้อง แล้วมักมีประติมากรรมรูปกบขนาดเล็กๆ ประดับขอบแผ่นหน้า คนบางกลุ่มจึงเรียก "ฆ้องกบ" หรือ "ฆ้องเขียด" แต่เอกสารจีนเรียก "กลองทองแดง" เพราะมีส่วนผสมของทองแดงเป็นโลหะหลัก
             ซึ่งการใช้ คือลักษณะการตี แต่สำหรับกลองมโหระทึกนั้น เรียกว่า "กระทั่งมโหระทึก"
คำว่า "กระทั่ง" เป็นคำกริยาที่แสดงถึงอาการที่ทำให้เกิดเสียง โดยเฉพาะกลองมโหระทึกนี้ จะไม่ใช้คำว่าตีกลองมโหระทึก แต่จะใช้คำว่ากระทั่งมโหระทึกมากกว่า

                ผู้ค้นพบ         
                หนุ่มชุมพรอาชีพดูดทราย เจอกลอง "มโหระทึก" ลายนกยูงบินทวนเข็มนาฬิกา อายุราว 2,500 ปี ในคลองอู่ตะเภาแหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว
                จากการตรวจสอบของลักษณะกลองใบนี้ นักโบราณคดี ระบุว่า ทำด้วยสำริดอยู่ในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ ยุคเหล็กอายุราว 2,500-2,000 ปีมาแล้ว เปรียบเทียบได้กับกลองมโหระทึกสำริดแบบเฮเกอร์ 1 (Heger 1) ในวัฒนธรรมดองซอน ที่พบในเวียดนาม นับเป็นรูปแบบกลองที่มีอายุเก่าแก่ที่สุดใบหนึ่ง ที่พบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
               นายเอนก กล่าวอีกว่า ในส่วนตรงกลางหน้ากลอง มีลายดาวหรือดวงอาทิตย์ 14 แฉก ที่สำคัญมีลายหางนกยูงคั่นปรากฏอยู่ ที่ยังไม่เคยพบเห็นในกลองประเภทนี้ในประเทศไทย และยังมีลายนกมีหางคู่ยาวกำลังเอี้ยวไซร้ปีกหรือขน บินทวนเข็มนาฬิกา จำนวน 6 ตัว แถวลายจุดถัดมาเป็นแถวลายวงกลมม้วน คล้ายก้นหอย 12 อัน และลายนกกระสาคู่มีหงอนและไม่มีหงอน บินทวนเข็มนาฬิกาจำนวน 8 คู่ รวม 16 ตัวตัวกลองมีหูสี่ด้านแต่ละอัน ลายคล้ายเกลียวเชือก สภาพตัวกลองมีร่องรอยของการใช้ทอยอยู่โดยรอบ แสดงถึงกรรมวิธีการหล่อแทนที่โลหะด้วยขี้ผึ้ง (Lost wax or Cire Perdue) พิมพ์ประกบสองชั้น บริเวณหน้ากลองบางส่วน มีคราบสนิมสีน้ำตาลแดงจับ ฐานล่างส่วนหนึ่งชำรุดแตกบิ่นหายไป


                อายุสมัยและขนาด    
                     ก่อนประวัติศาสตร์ อายุสมัยราวพุทธศตวรรษที่ 5 - 10 ปี ประมาณ  2,000 - 3,000  ปีมาแล้ว  พบในวัฒนธรรมโบราณต่างๆ  ในดินแดนเอเซียตะวันออกเฉียงใต้  เช่น พม่า ไทย  เวียดนาม  ลาว  มาเลเซีย  อินโดนีเซีย  และฟิลิปปินส์  เป็นต้น
                    ขนาด : กว้าง 76 เซนติเมตร, สูง 56 เซนติเมตร, (หน้ากลอง) ศูนย์กลาง 68.5 เซนติเมตร

               ลักษณะ  
ที่มา : http://www.manager.co.th
                     หน้ากลองตกแต่งลายดวงอาทิตย์หรือดาว 12 แฉก คั่นด้วยลายหางนกยูงล้อมรอบด้วยลายนกกระสาบินทวนเข็มนาฬิกาและลายเรขาคณิต ด้านข้างกลองตอนบนมีหู 4 หู โดยรอบ ตัวกลองตกแต่งลายวงกลมมีจุดตรงกลาง มีเส้นทะแยงในแนวตั้ง






                  วัตถุประสงค์ในการใช้    
1. ใช้เป็นเครื่องแสดงฐานะความมั่งคั่ง
2. ใช้เป็นวัตถุสำคัญประกอบในพิธีกรรมเกี่ยวกับความตาย
3. ใช้ตีเป็นสัญญาณในการสงคราม
4. ใช้ตีประกอบในพิธีกรรมขอฝน
5. ใช้ตีเพื่อการบำบัดรักษาโรคทางไสยศาสตร์

                  หลักฐานทางเอกสารและโบราณคดี     
       หลักฐานทางเอกสาร
            สำหรับในประเทศไทยมีหลักฐานปรากฏว่ามีการผลิตและใช้กลองมโหระทึกมาตั้งแต่สมัยก่อนประวัติศาสตร์ (ยุคโลหะ) เป็นต้นมา หลักฐานทางเอกสารที่พบว่ามีการใช้กลองมโหระทึก  คือ  - สมัยสุโขทัย  หนังสือไตรภูมิพระร่วง  โดยเรียกว่า  มหรทึก  ความว่า "...บ้างขับสรรพสำเนียงเสียงหมู่นักคุนจุนกันไปเดียรดาษ พื้นกลองแตรสังข์ระฆังกังสดาล  มหรทึกกึกก้องทำนุกดี..."
     - สมัยอยุธยา ประมาณแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ  มีการกล่าวถึงชื่อกลองมโหระทึกในกฎมณเฑียรบาล โดยเรียกว่า หรทึก และใช้ในงานพระราชพิธี  ความว่า"...งานสมโภชนสมุหะประธานทูลเผยใบศรี  ญานประกาศถวายศโลก  อิศรรักษา  ถวายพระศรีเกตฆ้องไชย  ขุนดนตรีตี หรทึก ..."  และ  "...ในเดือนเก้าพระราชพิธีตุลาภาร  ขุนศรีสังครเป่าสังข์  พระอินทรเภรี พระนนทิเกษาตีฆ้องไชย ขุนศรีตีหรทึก..."
    - สมัยรัตนโกสินทร์  พบว่าได้กลับมาเรียกชื่อกลองดังกล่าวว่า มโหระทึก  และเรียกต่อเนื่องกันมาถึงปัจจุบัน  โดยยังมีการใช้กลองมโหระทึกในงานพระราชพิธีต่างๆ เช่น พระราชพิธีฉัตรมงคล เป็นต้น

     หลักฐานทางโบราณคดี
         กลองมะโหระทึกที่พบในประเทศไทย  เช่น  ภาคเหนือ  บ้านบ่อหลวง  จังหวัดน่าน, ตำบลท่าเสา  จังหวัดอุตรดิตถ์, บ้านนาโบสถ์  เป็นต้น  จังหวัดตาก  ภาคกลาง  เช่น  บ้านสามง่าม  จังหวัดตราด, เขาสะพายแร้ง  จังหวัดกาญจนบุรี, แหล่งโบราณคดีคูบัว  จังหวัดราชบุรี เป็นต้น  ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  เช่น วัดมัชฌิมาวาส (วัดกลาง) จังหวัดมุกดาหาร, บ้านดงยาง  จังหวัดมุกดาหาร,  บ้านสหัสขันธ์  จังหวัดกาฬสินธุ์  เป็นต้น  ภาคใต้ เช่น  แหล่งโบราณคดีเขาสามแก้ว  จังหวัดชุมพร, อำเภอไชยา  จังหวัดสุราษฎร์ธานี,  ตำบลท่าเรือ  จังหวัดนครศรีธรรมราช ,ตำบลจะโหนง  จังหวัดสงขลา  เป็นต้น

                 
                       ทุกคนคงได้ความรู้เรื่องของ "กลองมโหระทึก" กันแล้วนะคะ มันน่าอัศจรรย์มากๆเลย ที่มีกลองขนาดใหญ่ขนาดนี้ทำด้วยสำริด พร้อมด้วยการสลักลายที่สวยงามบนตัวกลอง วิธีการใช้ก็ยังมีการใช้ที่เฉพาะ คราวหน้า  "ใครไม่ดี แต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" จะพาทุกคนไปรู้จักกับเรื่องของโบราณคดีเรื่องไหนนั้น คอยติดตามชมนะคะ




ขอบคุณข้อมูลจาก  
พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ชุมพร,จากhttp://www.virtualmuseum.finearts.go.th/,ค้นเมื่อ 1/03/61
กลองมโหระทึกโบราณวัตถุชิ้นสำคัญในพิพิธภัณฑ์ฯ ชุมพร,ณัฐกานต์ พิภูษณกาญจน์,จากhttps://www.gotoknow.org/posts/4669,ค้นเมื่อ 1/03/61
พบกลอง 'มโหระทึก' อายุ2,500ปีที่ชุมพร,ไทยรัฐออนไลน์,จากhttps://www.thairath.co.th/content/194850,ค้นเมื่อ 1/03/61


โบราณสถาน"วัดพระแก้ว จ.กำแพงเพชร"

ที่มา :  https://www.thetrippacker.com/th/                            วัดพระแก้ว จังหวัดกำแพงเพชร เป็นโบราณสถานที่ได้ขึ้นเป็นมรดกโลก...