![]() |
ที่มา : https://sites.google.com/ |
สวัสดีทุกคนนะคะ วันนี้ "ใครไม่ดีแต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" จะพาทุกคนไปรู้จักกับสัตว์โลกล้านปี หรือ ไดโนเสาร์นั่นเองซึ่งในประเทศไทยเองก็มีการขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์มากมายเลยทีเดียว ถ้าอยากรู้แล้วว่ามีไดโนเสาร์พันธุ์อะไรบ้าง ไปกันเลยค่า
ไดโนเสาร์ในประเทศไทย
จากการสำรวจตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน พบไดโนเสาร์ในประเทศไทยมากกว่า 16 ชนิด ซึ่งในทั้งหมดนี้มี 9 ชนิดใหม่ของโลก โดยแหล่งขุดค้นไดโนเสาร์ส่วนใหญ่อยู่ที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เช่น จังหวัดขอนแก่น กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ เป็นต้น จึงมีการนำคำว่า “อีสาน” มาตั้งเป็นชื่อไดโนเสาร์และตั้งชื่อตามชื่อของบุคคลหรือสถานที่ที่ขุดค้นพบด้วย ได้แก่
![]() |
ที่มา : https://www.pptvhd36.com/ |
1. สยามโมไทรันนัส อิสานเอนซิส (Siamotyrannus isanensis)
![]() |
ที่มา : https://sites.google.com/ |
ใหญ่ ยาวประมาณ 6.5 เมตร มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน มีขาหลังที่ใหญ่และแข็งแรงมาก พบกระดูกสันหลัง สะโพกและหางที่มีสภาพค่อนข้างสมบูรณ์ฝังในชั้นหินทราย จากการศึกษาพบว่าอยู่ในวงศ์ไทรันโนซอริเดที่เก่าแก่ที่สุด ทำให้สันนิษฐานได้ว่ากลุ่มของ ไทรันโนซอร์เริ่มวิวัฒนาการครั้งแรกในเอเชียแล้วค่อยแพร่กระจาย ไปทางเอเชียเหนือ และสิ้นสุดที่อเมริกาเหนือก่อนที่สูญพันธุ์ไป
2. ภูเวียงโกซอรัส สิรินธรเน่ (Phuwiangosaurus sirindhornae)
ไดโนเสาร์ซอโรพอด (ไดโนเสาร์ที่เดิน 4 เท้า คอและหางยาว กินพืชเป็นอาหาร) ชนิดแรกของไทย ถูกค้นพบที่บริเวณประตูตีหมา อำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น มักอยู่รวมกันเป็นฝูง พบกระดูกของพวกวัยเยาว์รวมอยู่ด้วย ซึ่งมีขนาดยาว 2 เมตร และสูงเพียงครึ่งเมตรเท่านั้น ไดโนเสาร์ชนิดนี้มีชีวิตอยู่ในยุคครีเทเชียสตอนต้นเมื่อประมาณ 130 ล้านปีก่อน ได้รับการตั้งชื่อเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี
![]() |
ที่มา : http://www.lib.ru.ac.th |
3. สยามโมซอรัส สุธีธรนี (Siamosaurus suteethorni)
![]() |
ที่มา : https://th.wikipedia.org/wiki/ |
4. อีสานโนซอรัส อรรถวิภัชน์ชิ (Isanosaurus attavipachi)
![]() |
ที่มา : https://paleoboyblog.wordpress.com |
![]() |
ที่มา : http://www.geothai.net/ |
ไดโนเสาร์เทอโรพอดกลุ่มออร์นิโธมิโมซอร์ มีความยาวประมาณ 1-2 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่อุทยานแห่งชาติภูเวียง จ.ขอนแก่น ฟอสซิลฝั่งอยู่ในหมวดหินเสาขัว อายุประมาณ 130 ล้านปี ไดโนเสาร์กลุ่มออร์นิโธมิโมซอร์มีลักษณะภายนอกคล้ายนกกระจอกเทศ เจะงอยปากของไดโนเสาร์กลุ่มนี้ไม่มีฟัน สันนิษฐานว่ากลุ่มนี้กินทั้งพืชและสัตว์ขนาดเล็ก
6. ซิททาโกซอรัส สัตยารักษ์คิ (Psittacosaurus sattayaraki)
![]() |
ที่มา : https://www.bloggang.com |
สถานที่พบ : ทวีปเอเชีย ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย จังหวัดชัยภูมิ
ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลกรามบนพร้อมฟันฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี
![]() |
ที่มา : http://siamensis.org/node/10164 |
ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านโปร่งแมลงวัน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลกรามล่างฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี
![]() |
ที่มา : https://oer.learn.in.th/ |
9. สิรินธรนา โคราชเอนซิส (Sirindhorna khoratensis)
ไดโนเสาร์กลุ่มอิกัวโนดอนเทีย มีความยาวประมาณ 6 เมตร ค้นพบครั้งแรกที่บ้านสะพานหิน จ.นครราชสีมา พบฟอสซิลหลายชิ้นฝั่งอยู่ในหมวดหินโคกกรวด อายุประมาณ 100 ล้านปี
![]() |
ที่มา : http://www.khoratfossil.org |
แหล่งที่พบซากดึกดำบรรพ์
![]() |
ที่มา : http://thaipaleosara.wixsite.com |
ทำไม? ไดโนเสาร์จึงสูญพันธุ์
ไดโนเสาร์สูญพันธุ์เมื่อ 65 ล้านปีมาแล้ว ซึ่งมีหลากหลายทฤษฎีที่สันนิษฐานการสูญพันธุ์ของไดโนเสาร์มากมายหลายทฤษฎี แต่ส่วนมากทฤษฎีปรากฎการณ์ทางธรรมชาติ หรือ โดนดาวเคราะห์น้อยพุ่งชนโลก จึงเป็นสาเหตุให้เกิดการสูญพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตจำนวนมาก
![]() |
ที่มา :https://th.wikipedia.org/wiki/ |
เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ที่เป็นที่สนใจและผู้คนทั่วไปรู้จักกันดีที่สุดคือ เหตุการณ์การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ในช่วงยุคครีเตเชียส (Cretaceous) เมื่อราว 65 ล้านปีที่แล้ว ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้ไดโนเสาร์ขนาดใหญ่สูญพันธุ์ทั้งหมด เมื่อทำการศึกษาพบว่าตั้งแต่ 550 ล้านปีก่อนเป็นต้นมา ได้เกิดการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ขึ้นทั้งหมดประมาณ 5 ครั้ง ซึ่งทำให้สิ่งมีชีวิตสูญพันธุ์ไปราวๆ 50% ของทั้งหมด เนื่องจากระยะเวลาที่เกิดขึ้นนานมาก การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ก่อนหน้ายุคครีเตเชียสมักลำบากในการศึกษารายละเอียด เพราะหลักฐานซากฟอสซิลสำหรับตรวจสอบมีหลงเหลือน้อยมาก
ประวัติการค้นพบไดโนเสาร์
การค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ในประเทศไทยเพิ่งจะเริ่มต้นขึ้นได้ไม่นาน โดยในปี พ.ศ. 2519 กรมทรัพยากรธรณีได้ค้นพบโครงกระดูกขนาดใหญ่ในเขตอำเภอภูเวียง จังหวัดขอนแก่น ซึ่งผลการวิจัยขณะนั้นทราบเพียงว่าเป็นไดโนเสาร์ซอโรพอด มีความยาวประมาณ 15 เมตร นับว่าเป็นรายงานการค้นพบซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์ครั้งแรกในประเทศไทย ต่อมาในปี พ.ศ. 2524 และ พ.ศ. 2525 ได้มีการสำรวจที่บริเวณภูเวียงอีกทำให้พบกระดูกส่วนต่างๆ ของไดโนเสาร์และสัตว์อื่นๆอีกมากมายหลายชนิดเป็นจำนวนมากอยู่ในชั้นหิน จึงนับได้ว่าเป็นการเริ่มต้นการค้นหาซากดึกดำบรรพ์ไดโนเสาร์อย่างจริงจัง
สุดท้ายนี้ทุกคนคงได้รู้จักกับเจ้าไดโนเสาร์ที่ค้นพบในประเทศไทย ซึ่งเป็นสัตว์ดึกดำบรรพ์ได้สูญพันธุ์ไปแล้ว เหลือไว้เพียงแค่ซากฟอสซิลให้เราคนรุ่นหลังได้ศึกษษเรียนรู้ และรู้จักแต่ในปัจจุบันก็มีสัตว์ป่าหลากหลายชนิดที่ใกล้สูญพันธุ์เช่นกัน ดังนั้น เราทุกคนต้องช่วยกันอนุรักษ์ผืนป่า และสัตว์ป่า ไม่ไปทำลายเพื่อความยั่งยืนของสัตว์ให้คนรุ่นหลังได้ดูและรู้จัก ถึงแม้ไดโนเสาร์จะสูญพันธุ์ไปด้วยสาเหตุของปรากฎการฏณ์ทางธรรมชาติ แต่สัตว์โลกในปัจจุบันก็ต้องไม่สูญพันธุ์ด้วยน้ำมือของมนุย์ "ใครไม่ดีแต่โบราณคดีดีดีจริงๆ" ขอให้ทุกคนช่วยกันอนุรักษ์นะคะ
![]() |
ที่มา : http://thaipaleosara.wixsite.com |
อ้างอิง
การค้นพบไดโนเสาร์ในประเทศไทย,หอสมุดแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติร์ พระบรมราชินีนาถ นครพนม,จากhttp://www.finearts.go.th/nakhonphanomlibrary/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
ไดโนเสาร์แห่งสยาม,จากhttp://thaipaleosara.wixsite.com/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560ไดโนเสาร์ในประเทศไทย,จาก https://th.wikipedia.org/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
การสูญพันธุ์ครั้งใหญ่,จาก https://th.wikipedia.org/wiki/.ค้นเมื่อ 4 มีนาคม 2560
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น